ลำดับขั้นของคนประจำเรือ​

April 19, 2019

ลำดับขั้นของคนประจำเรือ

การเดินเรือเป็นงานที่มีผู้คนหลากหลายอาชีพและมีลำดับขั้นมากมาย ซึ่งแต่ละบทบาทล้วนมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเดินเรือประสบความสำเร็จ โดยแต่ละบทบาทของคนประจำเรือมีดังนี้:​

นายเรือ
นายเรือคือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ (COC) ขั้นหนึ่ง เป็นผู้มีอำนาจสั่งการในเรือ และมีตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายเดินเรือ

ต้นเรือ
ต้นเรือคือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ (COC) ขั้นสอง สามารถสอบเลื่อนขั้นเป็นนายเรือได้

ต้นหนที่สอง & ต้นหนที่สาม
ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ (COC) ขั้นสาม สามารถสอบเลื่อนขั้นเป็นต้นเรือหรือต้นหนที่สามได้

นักเรียนฝึกฝ่ายเดินเรือ
นักเรียนฝึกฝ่ายเดินเรือมีหน้าที่ทำงานและเรียนรู้งานภายใต้การดูแลของต้นเรือ

ต้นกล
ต้นกลคือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรเครื่องกลขั้นหนึ่ง เป็นผู้ดูแลห้องเครื่องทั้งหมด และเป็นนายช่างกลระดับสูงที่สุด

รองต้นกล
รองต้นกลคือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรเครื่องกลขั้นสอง สามารถสอบเลื่อนขั้นเป็นต้นกลได้

นายช่างกลที่สาม & นายช่างกลที่สี่
ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรเครื่องกลขั้นสาม สามารถสอบเลื่อนขั้นเป็นนายช่างกลที่สามหรือรองต้นกลได้

นายช่างกลฝึกหัด
นายช่างกลฝึกหัดมีหน้าที่ทำงานและเรียนรู้งานภายใต้การดูแลของรองต้นกล

นายช่างไฟฟ้า
ทำงานภายใต้การดูแลของต้นกล ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ตั้งแต่จากการเปลี่ยนหลอดไฟไปจนถึงการซ่อมแซมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

สรั่งเรือ
สรั่งเรือจะมีหน้าที่อยู่หลากหลาย เช่น ต่อลวด, ผสมสี, ทำความสะอาด, จัดเรียงสินค้า, ช่วยเหลือต้นเรือในการทอดสมอ และส่วนใหญ่จะมีหน้าที่ดูแลลูกเรือ

เจ้าหน้าที่ดูแลระบบส่งถ่ายของเหลว
ตำแหน่งนี้มีอยู่บนเรือบรรทุกน้ำมันเท่านั้น โดยตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับสรั่งเรือ และรับคำสั่งโดยตรงจากต้นเรือ

นายท้ายเรือ (AB)
นายท้ายเรือทำหน้าที่ด้านการบำรุงรักษาในเรือ เช่น งานเจาะ, งานทาสี, งานทำความสะอาดและงานอัดจาระบี ทั้งยังทำหน้าที่เป็นนายท้ายและช่วยเหลือนายยามด้วย

กลาสีเรือ (OS)
กลาสีเรือทำหน้าที่ด้านการบำรุงรักษาในเรือ เช่น งานเจาะ, งานทาสี, งานทำความสะอาดและงานอัดจาระบี  โดยแตกต่างจากนายท้ายเรือตรงที่ไม่ทำหน้าเป็นนายท้ายและไม่มีหน้าที่ช่วยเหลือนายยาม

สรั่งช่างกลสรั่งช่างกลเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเชื่อม, การเจียร, การคว้านและการตัดด้วยแก๊ส อีกทั้งทำงานกับเครื่องกลึงด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะทำงานในฝ่ายช่างกลภายใต้การดูแลของรองต้นกล

ช่างเครื่อง
ช่างเชื่อมทำงานด้านการบำรุงรักษาในห้องเครื่อง มีหน้าที่ช่วยนายยามฝ่ายช่างกลและนายช่างกลในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร รวมถึงการทำความสะอาดและทาสี

ช่างเช็ด
ช่างเช็ดมีหน้าที่ทำความสะอาดในห้องเครื่อง และช่วยเหลือนายช่างกลในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

หัวหน้าคนครัว
หัวหน้าคนครัวมีหน้าที่จัดเตรียมอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่บนเรือ หน้าที่นี้นับเป็นหน้าที่ที่สำคัญ เนื่องจากคนประจำเรือมีหลากหลายเชื้อชาติ และแต่ละคนชอบอาหารและสไตล์การทำอาหารที่แตกต่างกัน

บริกร
บริกรเป็นผู้ช่วยหัวหน้าคนครัว มีหน้าที่ช่วยเหลือหัวหน้าคนครัวในการทำอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความสะอาดและการหั่นผัก









ที่มา
https://toughnickel.com/industries/ranksofseafarersresponsibilities
https://wikivisually.com/wiki/Seafarer%27s_professions_and_ranks  









09-thongchakmanning_comLAYLA

บทความที่น่าสนใจ

CERTIFICATES

FOLLOW US

ALL RIGHTS RESERVED © 2022 THONGCHAK MANNING

DESIGN by

Contact Us